ซากประตูโบสถ์เซนต์ปอล ( Ruins of St.Paul’s )
ซากประตูโบสถ์เซนต์ปอล หมายถึง “ฟาซาด” ด้านหน้าของโบสถ์มาแตร์ เดอี (Church of Mater Dei)
ที่สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1602-1640
façade (ฟาซาด) เป็นภาษาฝรั่งเศษ แปลว่า หน้าร้าน หรือ ด้านหน้าของอาคาร
ประมาณต้นสตวรรษที่ 17 สถานที่แห่งนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองมาเก๊า
โบสถ์แห่งนี้เคยเป็นโรงเรียนสอนศาสนาแห่งแรกของชาวตะวันตกในดินตะวันออกไกล
ต่อมาในปี ค.ศ. 1835 เกิดเพลิงไหม้อย่างรุนแรงทำให้วิทยาลัยเซนต์ปอลที่อยู่ติดกับโบสถ์ก็กลายเป็นซากด้วยเช่นกัน
โดยรวมแล้ว โบสถ์มาแตร์ แดอี วิทยาลัยเซนต์ปอล (St.Paul’s College) และป้อมปราการ (Mount Fortress) เป็นสิ่งปลูกสร้างของวัดนิกายเยซูอิต และตั้งใจก่อร่างให้เป็นดั่งอะโครโปลิสแห่งมาเก๊า
รูปปั้นที่ประทับบนประตูโบสถ์คือเหล่าเทพ 7 แห่ง
จากบนลงล่าง
นกพิราบ
พระเยซู
พระแม่มารี
จากซ้ายไปขวา
The Beautified Francisco de Borja : ฟรานซิสกู ดึ อัลไมดา อุปราชโปรตุเกสคนแรก แห่ง State of India
St.lgnatius : นักบุญอิกเนเชียส
St.Francisco Xavier : นักบุญฟรังซิสเซเวียร์
The Beautified Luis Gonzaga : นักบุญลุยจี กอนซากา
จากเหตุการณ์เพลิงใหม้ในครั้งนั้นทำให้ โบสถ์เซนต์ปอล คงเหลือแค่เพียงบานประตูและบันไดทางเข้าด้านหน้าที่สง่างาม
หลังจากที่มีการบูรณะขึ้นใหม่ในปี ค.ศ.1991 ด้านหลังของซากโบสถ์ มีหลุมฝังศพของบาทหลวงวาลิคนาโน
ผู้ก่อตั้งโบสถ์ และโครงกระดูกของชาวคริสต์ญี่ปุ่น และเวียดนามที่เสียชีวิต
ปัจจุบัน ซากโบสถ์เซนต์ปอลที่หลงเหลือ ถูกนำมาใช้ดุจดั่งแท่นบูชาประจำเมือง
และนับเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก
ว่ากันว่า ถ้ามา เที่ยวมาเก๊า แล้วไม่ได้มาถ่ายรูปกับ ซากโบสถ์เซนต์ปอล นั้นถือว่าไม่ถึง มาเก๊า น่ะครับ
บริเวณ Largo da Companhia de Jesus เป็นที่ตั้งของ ศูนย์กิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยว
บางครั้งจะมีนิทรรศการ ที่น่าสนใจให้นักท่องเที่ยวได้ชม
หรือจะสอบถามข้อมูลท่องเที่ยวก็สามารถสอบถามกันได้ที่นี่เลยครับ
มัลติเซอร์วิส ตั้งอยู่บนชั้น G เป็นศูนย์ให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว และมีบริการต่างๆ อาทิ บริการช่วยเหลือด้านที่พัก
แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จองทัวร์ พร้อมทั้งจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ทำในมาเก๊า
เวลาทำการ :
ร้านค้าผลิตภัณฑ์ในมาเก๊า : 09.00 -18.30 น.
ศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยว : 09.00 – 19.00 น.
มาเก๊าดินแดนที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมตะวันออก และตะวันตกไว้อย่างกลมกลืน จนสามารถพูดได้ว่า “ที่นี่ คือ ยุโรปกลางเอเชีย”
ขอบคุณที่ติดตามชมครับ